หน้าเว็บ

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วันครู







คำขวัญวันครู 2558  
          คำขวัญวันครู 2558 ได้แก่ "เกียรติครูยิ่งใหญ่ น้อมใจบูชา เลิศล้ำคุณค่า ศรัทธาพระคุณ"

ความหมายของครู 
          ครู หมายถึง ผู้สั่งสอนศิษย์ หรือ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ซึ่งมีผู้กล่าวว่ามาจากคำว่า ครุ (คะ-รุ) ที่แปลว่า "หนัก" อันหมายถึง ความรับผิดชอบในการอบรมสั่งสอนของครูนั้น นับเป็นภาระหน้าที่ที่หนักหนาสาหัสไม่น้อย กว่าคน ๆ หนึ่งจะเติบโตเป็นผู้มีวิชาความรู้ และเป็นคนดีของสังคม ผู้เป็น "ครู" จะต้องทุ่มเทแรงกายและแรงใจไม่น้อยไปกว่าพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดเลย ซึ่งในชีวิตของคน ๆ หนึ่ง นอกเหนือไปจากพ่อแม่ซึ่งเปรียบเสมือน "ครูคนแรก" ของเราแล้ว การที่เด็ก ๆ จะดำรงชีพต่อไปได้ในสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี "ครู" ที่จะประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ เพื่อปูพื้นฐานไปสู่หนทางทำมาหากินในภายภาคหน้าด้วย ดังนั้น "ครู" จึงเป็นบุคคลสำคัญที่เราทุกคนควรจะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อท่าน 



ประวัติความเป็นมาวันครู 

          
  วันครู ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ.2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภา เป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกัน ก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครู และครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้ และความสามัคคีของครู 

          
ทุกปีคุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา เป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา


         
 พ.ศ.2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป.พิบูล สงคราม นายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า

          "
ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า วันครู ควรมีสักวันหนนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อวันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"

          
จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ให้มีวันครูเพี่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพจารย์ ส่งเสริมความสามัคคีธรรมระหว่างครูและพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน
 

          
คณะมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น วันครู โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2488 เป็น วันครู และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าว

         
งานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญ คือ หนังประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ 


วันครู  ประวัติวันครูแห่งชาติ
วันครูแห่งชาติ

กิจกรรมวันครู

          การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลาในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

          1. กิจกรรมทางศาสนา

          2. พิธีรำลึกพระคุณบูรพาจารย์ 
ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตนการกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์

          3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬา หรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น 



วันครู 2557 ประวัติวันครูแห่งชาติ








สมญานามที่เน้นให้เห็นความสำคัญของครู








สมญานามที่เน้นให้เห็นความสำคัญของครู

ครูมีความสำคัญต่อสังคมมาก ดังนั้นสังคมจึงยกย่องครูโดยให้สมญานามต่างๆ คือ
                1. ครู คือ นักปฏิวัติในสนามรบทางการศึกษา
             หมายความว่า ครูเป็นผู้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการศึกษาของชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะนักปฏิวัติในสนามรบทางการศึกษา เช่น ร่วมกับคณะครูสำหรับพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนที่ตนปฏิบัติงาน  ร่วมกับคณะครูในโรงเรียนเพื่อช่วยกำหนดนโยบายสำหรับการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน ร่วมกับคณะครูเพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สนองความต้องการท้องถิ่น  ร่วมกับคณะครูเพื่อปรับปรุงวิธีการสอนให้ทันสมัย และร่วมคิดจัดสื่อการสอนให้ทันสมัย ประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด

              2. ครู คือ ผู้ใช้อาวุธลับของชาติ
               หมายความว่า ครูเป็นผู้คอยอบรมสั่งสอนนักเรียนนักศึกษาซึ่งเปรียบเสมือนอาวุธลับของชาติให้เป็นไปตามสังคมกำหนด ภารกิจที่ครูพึงกระทำในฐานะผู้ใช้อาวุธลับของชาติ เช่น ปลูกฝังให้ศิษย์จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  ปลูกฝังให้ศิษย์ยึดมั่นในประชาธิปไตย  ปลูกฝังให้ศิษย์มีความซื่อสัตย์  ปลูกฝังให้ศิษย์เข้าใจสิทธิและหน้าที่  ปลูกฝังให้ศิษย์เคารพสิทธิและหน้าที่ของบุคคลอื่น  ปลูกฝังให้ศิษย์บำเพ็ญตนเป็นพลเมืองที่ดี  ปลูกฝังให้ศิษย์เคารพกฎระเบียบของสังคม  ปลูกฝังให้ศิษย์มีน้ำใจนักกีฬา และปลูกฝังให้ศิษย์รู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของสังคม

                 3. ครู คือ ทหารเอกของชาติ
                   หมายความว่า ครูเป็นบุคคลที่มีความเก่งมีความสามารถ เป็นผู้นำของชาติบ้านเมืองในทุกๆด้าน ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะทหารเอกของชาติ เช่น เป็นผู้นำด้านระเบียบพิธีทางศาสนาและวัฒนธรรมในชุมชมท้องถิ่น  เป็นผู้เผยแพร่หลักธรรมคำสอนแก่ชุมชน  เป็นผู้นำความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมที่ดีมาสู่ชุมชน  เป็นผู้นำทางความคิดแก่ชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพ  เป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่ชุมชม  เป็นผู้นำทางการเมืองการปกครอบในระบอบประชาธิปไตย เป็นผู้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในชุมชน และเป็นผู้ประสานความเข้าใจอันดีระหว่างชุมชน

             4. ครู คือ แม่พิมพ์ของชาติ
                 หมายความว่า ครูเป็นแบบอย่างแก่เยาวชนและบุคคลทั่วไปทั้งด้านความรู้และพฤติกรรมต่างๆ ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะแม่พิมพ์ของชาติ เช่น เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตามมารยาทไทย  เป็นแบบอย่างที่ดีแก่การปฏิบัติตนเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย  เป็นแบบอย่างที่ดีโดยนำเอาหลักธรรมในการปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน  เป็นแบบอย่างที่ดีด้านความซื่อสัตย์  เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการประหยัดอดออม เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการพัฒนาตนเอง เป็นแบบอย่างที่ดีในการแต่งกาย  เป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขอนามัย เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการบำเพ็ญตนเป็นพลเมืองดี  เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการใช้ภาษาไทย  เป็นแบบอย่างที่ดีด้านความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และเป็นแบบอย่างที่ดีด้านเป็นบุคคลที่มีชีวิตในครอบครัวอย่างผาสุก

               5. ครู คือ กระจกเงาของศิษย์
                หมายความว่า ครูเป็นผู้คอยชี้แนะ แนะนำตักเตือนศิษย์ให้ตั้งอยู่ในความดี ไม่กระทำสิ่งที่นำความเดือนร้อนมาสู่ตัวเองหรือผู้อื่น ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะกระจกเงาของศิษย์ เช่น ตักเตือนศิษย์ที่แต่งกายไม่ถูกต้อง  ตักเตือนศิษย์ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม  ตักเตือนศิษย์มิให้ครบเพื่อนซึ่งมีพฤติกรรมทางเสื่อมเสีย ตักเตือนศิษย์ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อเพื่อน ตักเตือนศิษย์ให้เลิกลักขโมย  ตักเตือนศิษย์ให้ตรงต่อเวลา ตักเตือนศิษย์ที่มีนิสัยเกียจคร้าน  ตักเตือนศิษย์ให้ไม่เลียนแบบพฤติกรรมไม่ดีงานจากบุคคลที่มีชื่อเสียง และตักเตือนศิษย์มิให้ปฏิบัติตามค่านิยมไม่ดีงามบางอย่าง

            6. ครู คือ ดวงประทีปส่องทาง
                หมายความว่า ครูเป็นผู้ให้ความรู้ให้ปัญญาแก่เยาวชน คนที่มีปัญญาย่อมมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนมีดวงประทีปส่องทางให้กับตนเองตลอดเวลา ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะดวงประทีปส่องทาง เช่น ให้ความรู้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ  สอนศิษย์ให้รู้จักพิจารณาสิ่งต่างๆ  สอนให้ศิษย์ละเว้นความชั่วทั้งปวง สอนให้ศิษย์ประพฤติแต่สิ่งดีงาม แนะนำศิษย์ให้สำรวจว่าตนเองมีความสามารถด้านใด  แนะแนวอาชีพที่ตรงกับความถนัดของศิษย์  ให้ความรู้ทันสมัยแก่ศิษย์เพื่อให้ศิษย์เป็นคนทันโลกทันเหตุการณ์ แนะนำแหล่งวิทยาการแก่ศิษย์ และแนะนำสิ่งที่เป็นบุญกุศลแก่ศิษย์

             7. ครู คือ ผู้สร้างโลก
                    หมายความว่า ครูเป็นผู้พัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถเพื่อให้คนเหล่านั้นไปพัฒนาสังคมประชาชาติ ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะผู้สร้างโลก เช่น สอนให้ศิษย์เป็นนักคิด  สอนให้ศิษย์มีจิตใจที่เข้มแข็ง สอนให้ศิษย์ขยัน สอนให้ศิษย์สร้างครอบครัวที่มั่นคง สอนให้ศิษย์ใช้ความรู้ความสามารถให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม  สอนให้ศิษย์สามัคคี และสอนให้ศิษย์พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง


            8. ครู คือ ผู้กุมความเป็นความตายของชาติไว้ในกำมือ
               หมายความว่า ชาติจะเจริญก้าวหน้าหรือล้มสลายก็เพราะครู ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะผู้กุมความเป็นความตายของชาติไว้ในกำมือ เช่น ไม่สอนวิชาที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาแก่ศิษย์  ไม่แนะนำสิ่งผิดให้นักเรียน  ไม่ยุยงให้ศิษย์สร้างความแตกร้าวในสังคม ไม่แสดงความคิดเห็นที่เป็นมิจฉาทัฏฐิให้ศิษย์ในที่สาธารณะ  ไม่สอนศิษย์เพียงให้พ้นหน้าที่ประจำวัน  ไม่เป็นผู้ก่อความแตกร้าวทางความคิดให้แก่คนในชาติ และไม่อาศัยชื่อเสียงหรือบารมีของตนเพื่อสร้างความสับสนให้กับสังคม

              9. ครู คือ ปูชนียบุคคล
                   หมายความว่า ครูเป็นบุคคลที่มีความน่าเคารพบูชาของศิษย์และบุคคลทั่วไป ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะปูชนียบุคคล เช่น ลดละเลิกพฤติกรรมที่เป็นความชั่วทางกายทั้งปวง ฝึกฝนให้ตนมีวจีสุจริต  ฝึกให้ตนมีมโนสุจริต  พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งกายและใจ และพยายามสั่งสมวิชาความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม

            10. ครู คือ วิศวกรสังคม
                    หมายความว่า ครูเป็นนักสร้างให้เป็นไปตามทิศทางที่สังคมต้องการ เนื่องจากปัจจุบันสังคมยกย่องให้ครูเป็นวิศวกรทางสังคม เพราะครูทำหน้าที่เสมือนวิศวกรทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ งานของครูในฐานะเป็นวิศวกรสังคม มีดังนี้ ครูทำงานวิจัย  ครูทำงานพัฒนา  ครูทำงานออกแบบ  ครูทำงานผลิต  ครูทำงานก่อนสร้าง  ครูทำงานควบคุมโรงเรียน   ครูทำงานทดสอบ  ครูทำงานการขายและการตลาด  ครูทำงานบริหาร ครูทำงานที่ปรึกษา และครูทำงานการศึกษาโดยตรง





ความสำคัญของความเป็นครู

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ความสำคัญของครู



       อาชีพทุกอาชีพย่อมมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคมด้วยกันทั้งสิ้น  ยากที่จะกล่าวอ้างว่าอาชีพใดมีความสำคัญกว่ากัน  แต่ถ้าเรามาพิจารณาเฉพาะวิชาชีพครูให้ลึกซึ้งแล้วจะเห็นว่า  ผู้เป็นครูนั้นต้องรับภาระหน้าที่ต่อสังคมและชาติบ้านเมือง  หากผู้เป็นครูปฏิบัติภาระที่ตนเองได้รับบกพร่อง  ผลกระทบก็จะตกไปถึงความเสื่อมของสังคมและชาติบ้านเมือง เพื่อให้นักศึกษาครูได้ตระหนักถึงความสำคัญของครู  จึงขออัญเชิญพระราโชวาทของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร  ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยครู  ณ.อาคารใหม่สวนอัมพร  วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2523 มากล่าวในที่นี้ ดังปรากฏข้อความตอนหนึ่งว่า
 "...หน้าที่ของครูนั้นเป็นหน้าที่ที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการปลูกฝังความรู้ ความคิด และจิตใจให้แก่เยาวชน เพื่อที่จะได้เติบโต ขึ้นเป็นผลเมืองที่ดีและมีประสิทธิภาพของประเทศชาติในกาลข้างหน้า ผู้เป็นครูจึงจัดได้ว่าเป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญ ในการสร้างสรรค์บันดาลอนาคตของชาติบ้านเมือง..."
                และอีกตอนหนึ่งเป็นพระราโชวาทของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยครู  ณ อาคารใหม่สวนอัมพร  วันพุธที่18 พฤษภาคม  พ.ศ.2526  ความตอนหนึ่งว่า
             "...อาชีพครูถึงว่าสำคัญอย่างยิ่ง เพราะครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญมั่นคง และก่อนที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญได้นั้น จะต้องพัฒนาคน ซึ่งก็ได้แก่เยาวชนของชาติ เสียก่อน เพื่อให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณค่าสมบูรณ์ทุกด้าน จึงจะสามารถช่วยกันสร้างความเจริญให้แก่ชาติต่อไปได้ ..."
             พระราโชวาทของทั้งสองพระองค์ดังกล่าว  สามารถสรุปความได้ว่า  ผู้ที่เป็นครูนั้นมีความสำคัญอย่างมาก  เพราะครูเป็นผู้ปลูกฝังความรู้สึกความคิดและจิตใจและพัฒนาเยาวชนให้มีความเจริญในทุกๆด้าน  เพื่อให้เยาวชนเหล่านั้นเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองต่อไป

จากพระราโชวาทของทั้งสองพระองค์ตามที่ได้อัญเชิญมานี้  เป็นเครื่องยืนยันให้เห็นถึงความสำคัญของบุคคลที่เป็นครูที่มีต่อความเจริญของบุคคลและชาติบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง  ทั้งนี้เพราะ "ชาติบ้านเมืองจะมีความเจริญมั่นคงอยู่ได้  ก็เพราะประชาชนในชาติได้รับการพัฒนาอย่างถูกวิธี   การพัฒนาคนจะดำเนินไปอย่างถูกต้องก็เพราะมีระบบการศึกษาที่ดี  และระบบการศึกษาจะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ก็เพราะมีครูที่มีคุณภาพ"




ครูให้อะไรแก่ศิษย์




ครูให้อะไรแก่ศิษย์ ?
1)   ให้ความรู้
ความรู้ที่จะยังประโยชน์แก่ศิษย์ในฐานะผู้รับ และแก่ตัวครูเองในฐานะผู้ให้ ทั้งในดุนยา และอาคิเราะฮ  ความรู้ที่ครูได้ถ่ายทอดให้แก่ศิษย์ คือความรู้ที่ยังประโยชน์ เมื่อศิษย์ได้รับประโยชน์จากความรู้  อัลลอฮจึงให้ประโยชน์ดังกล่าวเป็นอานิสงส์ แก่ครูเช่นเดียวกัน

2)   ให้โอกาส
 ครูต้องให้โอกาสศิษย์เสมอในการศึกษาเล่าเรียน เพราะการศึกษาเล่าเรียนไม่มีคำว่าสาย เมื่อโอกาส และจังหวะของชีวิตแต่ละคน อัลลอฮทรงกำหนดให้ไม่เหมือนกัน ครูจึงไม่ควรปิดกั้นโอกาสของศิษย์ ไม่ว่าด้วยกรณีใดๆ

3)   ให้ความคิด
นอกจากความรู้ที่ครูจะต้องถ่ายทอดให้แก่ศิษย์โดยไม่ปิดบังแล้ว ครูจะต้องให้ความคิดแก่ศิษย์ด้วย คือให้ศิษย์คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น รวมทั้งสามารถนำความรู้ไปขยายต่อ หรือนำไปประยุกต์ใช้ในภาวะต่างๆได้ ครูจึงไม่ใช่ครูสอนหนังสือ แต่เป็นครูสอนคน และสอนคนให้เป็นมนุษย์ที่ได้รับการพัฒนา

4) ให้ชีวิต
ครูเป็นผู้ให้ชีวิต ในที่นี้หมายถึง ให้จิตวิญญาณ และอุดมการณ์ ซึ่งเป็นสารัดถะสำคัญของชีวิต นักเรียน นักศึกษาหลายคนที่ประสบความสำเร็จอันเนื่องมาจากมีครูที่ให้อุดมการณ์ และให้จิตวิญญาณแก่ศิษย์ จนสามารถยึดเป็นหลักในการต่อสู้ และฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆของชีวิตได้

5)   ให้กำลังใจ
ครูต้องเป็นผู้ให้กำลังใจศิษย์ โดยเฉพาะเมื่อศิษย์เกิดความเบื่อหน่าย ความท้อแท้ หรือหมดหวัง การให้กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญที่ครูไม่ควรมองข้าม กำลังใจเปรียบเหมือนยาหอมที่ชโลมใจให้รู้สึกสดชื่นอยู่เสมอ ศิษย์หลายคนที่เคยท้อแท้ในชีวิต แต่เมื่อได้กำลังใจจากครูก็กลับฮึดสู้จนประสบความสำเร็จได้

6)   ให้อภัย
ครูต้องให้อภัยศิษย์เสมอ ไม่ว่าศิษย์จะทำความผิดมากน้อยเพียงใด การให้อภัยเป็นคุณธรรมที่สำคัญยิ่งของผู้ที่เป็นครู หากครูเป็นพ่อ ลูกศิษย์ก็คือลูก เมื่อลูกทำอะไรที่ผิดพลาด พ่อควรว่ากล่าวตักเตือนด้วยความเอ็นดู ควรให้อภัย และให้โอกาส


ครุคือผู้เติมเต็ม...
         
ศิษย์ทุกคนที่เราสอนล้วนมีความรู้ โดยเฉพาะความรู้ที่ครูไม่รู้ ครูกับศิษย์จึงรู้กันคนละอย่าง มีความถนัดกันคนละอย่าง
ดังนั้นครูจึงมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเติมเต็ม และต่อยอดความรู้ที่เรายังขาดกันคนละอย่าง” 
          คำอธิบายนี้ทำให้ผมนึกถึงระบบครูกับศิษย์ในกระบวนการถ่ายทอดหะดีษในอิสลาม กล่าวคือ  ในการรายงานหะดีษนั้น ครูกับศิษย์จะทำหน้าที่เป็นผู้เติมเต็มให้กันและกัน ครูจะให้รายงาน (หะดีษ) แก่ศิษย์ ในขณะที่ศิษย์ก็จะให้รายงาน (หะดีษที่ครูไม่มี) แก่ครู  ครูจึงเป็นทั้งครูทั้งศิษย์โดยทำหน้าที่เติมเต็มให้แก่กัน

ครูเติมเต็มอะไรให้แก่ศิษย์ ?
1)  เติมเต็มความรู้
หมายถึง เติมเต็มความรู้ที่ศิษย์ไม่เคยรู้มาก่อน หรือเคยรู้มาอย่างผิดๆ หรืออย่างขาดๆ เกินๆ ครูต้องเป็นผู้เติมเต็มส่วนนี้ให้แก่ศิษย์ ขณะเดียวกันศิษย์ก็อาจเติมเต็มส่วนนี้ให้แก่ครูเช่นเดียวกัน เป็นไปตามทฤษฎีข้างต้นที่บอกว่า “เรารู้กันคนละอย่าง”

2)  เติมเต็มประสบการณ์
 ครูมิใช่เป็นผู้เติมเต็มเฉพาะความรู้เท่านั้น แต่ครูจะต้องเติมเต็มประสบการณ์ให้แก่ศิษย์ด้วย ประสบการณ์ที่ครูถ่ายทอดให้แก่ศิษย์จะเป็นประโยชน์อย่างมาก และอาจมากกว่าความรู้ด้วยซ้ำไป ครูจึงไม่ควรหวงประสบการณ์ แต่ควรเติมในส่วนที่ศิษย์ยังขาดอยู่ และศิษย์ก็มีส่วนช่วยเติมในส่วนที่ครูขาดอยู่เช่นเดียวกัน

3)  เติมเต็มสติปัญญา
 ครูได้ชื่อว่าเป็นผู้จุดประกายสติปัญญาให้แก่ศิษย์ ให้ศิษย์คิดเป็น ทำเป็น และรู้จักใช้สติปัญญาไปในทางที่ถูกต้อง และครูยังได้ชื่อว่าเป็นผู้เติมเต็มสติปัญญาให้แก่ศิษย์อีกด้วย เนื่องจากพัฒนาการของสติปัญญานั้นจำต้องอาศัยแบบฝึกหัดต่างๆจากครู เพื่อสติปัญญาจะได้รับการพัฒนาไปสู่จุดที่สมบูรณ์ และสุกงอมที่สุด


เพลงคุณครู




เพลงวันครู

      ชีวิตของเรามีครูคนแรกคือพ่อกับแม่แล้ว หลังจากนั้นชีวิตอีกมากมายหลายปีที่เราทุกคนได้ใช้ชีวิตอยู่กับครูคนที่สอง ครูคนที่ไม่ใช่พ่อแม่ ไม่ใช่ญาติ แต่เป็นคนที่พร้อมจะมอบวิชาความรู้ คุณธรรมต่างๆ ให้กับลูกศิษย์ ดังนั้นหากกำลังมองหาเพลงสักเพลงที่จะมอบให้คุณครูที่คุณรักคนนั้น เพลงเนื้อหาดีๆ ที่ใช้เปิดเป็นเพลงวันครู เรารวบรวมไว้แล้วที่นี่ค่ะ



เพลงสำหรับคุณครูเพลงที่ 1 : เพลงรางวัลของครูเนื้อเพลงรางวัลของครู



ขับร้องโดย : ปาน ธนพร แวกประยูรผู้สนับสนุน : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา

ทุกคำบ่นว่า คือ ความปรารถนาด
ใช้ความเมตตาปราณี คอยชี้หนทางเดินให้
ร้อยเหนื่อย พันหนัก กลั่นเป็นรัก และห่วงใย
เพื่อทำหน้าที่ยิ่งใหญ่ เป็นคนผู้ให้วิชา

ทุ่มเทเพื่อศิษย์ จากจิตวิญญาณของครู
แสงเทียนเพื่อการเรียนรู้ ยังสู้ยังส่องเรื่อยมา
ให้ศิษย์ถึงฝั่ง ด้วยแรงหวังแรงศรัทธา
หนื่อยกายและใจ ทว่า เป็นสุขอยู่ทุกนาที

*ความภูมิใจมิได้อยู่ในพานไหว้ครู
แต่อยู่ในวันที่รู้ว่าศิษย์นั้นไปได้ดี
เรือจ้างลำแกร่ง ยังพายสุดแรงที่มี
พ่อพิมพ์แม่พิมพ์วันนี้ ยังพิมพ์คนดีสุดแรงทุกวัน

** ทุกคนคือศิษย์ ตลอดชีวิตของค
รูถ้อยคำชื่นชมเชิดชู ไม่ต้องให้ครูก็ได้
รู้ถูกรู้ผิด มีชีวิตที่สดใส
สื่งนั้นที่ครูฝันใฝ่ เพื่อเป็นแรงใจให้ครู

ซ้ำ *, **

รู้ถูก รู้ผิด มีชีวิตที่ก้าวไกล
เป็นคนที่ดีให้ได้ นั่นคือ "รางวัลให้ครู"





พลงสำหรับคุณครูเพลงที่ 3 : พระคุณที่สาม                

เนื้อเพลงพระคุณที่สาม






ครู บาอาจารย์ ที่ท่านประทาน ความรู้มาให้
อบรมจิตใจ ให้รู้ผิดชอบ ชั่วดีก่อน
จะนอน สวดมนต์อ้อนวอนทุกที ขอกุศล
บุญบารมี ส่งเสริมครูนี้ให้ร่มเย็น


ครู มีบุญคุณ จะต้องเทิดทูน เอาไว้เหนือเกล้า
ท่านสั่งสอนเรา อบรมให้เรา ไม่เว้น


ท่านอุทิศ ไม่คิดถึงความยากเย็น สอนให้รู้ จัดเจน
เฝ้าแนะ เฝ้าเน้น มิได้อำพราง
พระคุณที่สาม งดงามแจ่มใส แต่ว่าใครหนอใคร
เปรียบเปรย ครูไว้ ว่าเป็นเรือจ้าง
ถ้าหากจะคิด ยิ่งคิดยิ่งเห็น ว่าผิดทาง
มีใครไหนบ้าง แนะนำแนวทาง อย่างครู


บุญเคยทำมา ตั้งแต่ปางใด เรายกให้ท่าน
ตั้งใจกราบกราน เคารพคุณท่าน กตัญญู
โรคและภัย อย่ามาแผ่วพาน คุณครู ขอกุศลผลบุญค้ำชู
ห้ครูมีสุข ชั่วนิรันดร  ให้ครูมีสุข ชั่วนิรันดร