
สมญานามที่เน้นให้เห็นความสำคัญของครู
ครูมีความสำคัญต่อสังคมมาก ดังนั้นสังคมจึงยกย่องครูโดยให้สมญานามต่างๆ
คือ
1. ครู คือ
นักปฏิวัติในสนามรบทางการศึกษา
หมายความว่า
ครูเป็นผู้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการศึกษาของชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น
ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะนักปฏิวัติในสนามรบทางการศึกษา เช่น
ร่วมกับคณะครูสำหรับพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนที่ตนปฏิบัติงาน ร่วมกับคณะครูในโรงเรียนเพื่อช่วยกำหนดนโยบายสำหรับการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
ร่วมกับคณะครูเพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สนองความต้องการท้องถิ่น
ร่วมกับคณะครูเพื่อปรับปรุงวิธีการสอนให้ทันสมัย
และร่วมคิดจัดสื่อการสอนให้ทันสมัย ประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด
2. ครู คือ
ผู้ใช้อาวุธลับของชาติ
หมายความว่า
ครูเป็นผู้คอยอบรมสั่งสอนนักเรียนนักศึกษาซึ่งเปรียบเสมือนอาวุธลับของชาติให้เป็นไปตามสังคมกำหนด
ภารกิจที่ครูพึงกระทำในฐานะผู้ใช้อาวุธลับของชาติ เช่น
ปลูกฝังให้ศิษย์จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ปลูกฝังให้ศิษย์ยึดมั่นในประชาธิปไตย
ปลูกฝังให้ศิษย์มีความซื่อสัตย์
ปลูกฝังให้ศิษย์เข้าใจสิทธิและหน้าที่
ปลูกฝังให้ศิษย์เคารพสิทธิและหน้าที่ของบุคคลอื่น
ปลูกฝังให้ศิษย์บำเพ็ญตนเป็นพลเมืองที่ดี
ปลูกฝังให้ศิษย์เคารพกฎระเบียบของสังคม
ปลูกฝังให้ศิษย์มีน้ำใจนักกีฬา
และปลูกฝังให้ศิษย์รู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของสังคม
3. ครู คือ ทหารเอกของชาติ
หมายความว่า
ครูเป็นบุคคลที่มีความเก่งมีความสามารถ เป็นผู้นำของชาติบ้านเมืองในทุกๆด้าน
ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะทหารเอกของชาติ เช่น
เป็นผู้นำด้านระเบียบพิธีทางศาสนาและวัฒนธรรมในชุมชมท้องถิ่น เป็นผู้เผยแพร่หลักธรรมคำสอนแก่ชุมชน
เป็นผู้นำความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมที่ดีมาสู่ชุมชน
เป็นผู้นำทางความคิดแก่ชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพ
เป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่ชุมชม
เป็นผู้นำทางการเมืองการปกครอบในระบอบประชาธิปไตย
เป็นผู้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในชุมชน และเป็นผู้ประสานความเข้าใจอันดีระหว่างชุมชน
4. ครู คือ แม่พิมพ์ของชาติ
หมายความว่า
ครูเป็นแบบอย่างแก่เยาวชนและบุคคลทั่วไปทั้งด้านความรู้และพฤติกรรมต่างๆ
ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะแม่พิมพ์ของชาติ เช่น
เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตามมารยาทไทย เป็นแบบอย่างที่ดีแก่การปฏิบัติตนเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย เป็นแบบอย่างที่ดีโดยนำเอาหลักธรรมในการปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นแบบอย่างที่ดีด้านความซื่อสัตย์ เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการประหยัดอดออม
เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการพัฒนาตนเอง เป็นแบบอย่างที่ดีในการแต่งกาย เป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขอนามัย
เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการบำเพ็ญตนเป็นพลเมืองดี เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการใช้ภาษาไทย เป็นแบบอย่างที่ดีด้านความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
และเป็นแบบอย่างที่ดีด้านเป็นบุคคลที่มีชีวิตในครอบครัวอย่างผาสุก5. ครู คือ กระจกเงาของศิษย์
หมายความว่า
ครูเป็นผู้คอยชี้แนะ แนะนำตักเตือนศิษย์ให้ตั้งอยู่ในความดี
ไม่กระทำสิ่งที่นำความเดือนร้อนมาสู่ตัวเองหรือผู้อื่น
ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะกระจกเงาของศิษย์ เช่น
ตักเตือนศิษย์ที่แต่งกายไม่ถูกต้อง ตักเตือนศิษย์ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
ตักเตือนศิษย์มิให้ครบเพื่อนซึ่งมีพฤติกรรมทางเสื่อมเสีย
ตักเตือนศิษย์ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อเพื่อน ตักเตือนศิษย์ให้เลิกลักขโมย
ตักเตือนศิษย์ให้ตรงต่อเวลา
ตักเตือนศิษย์ที่มีนิสัยเกียจคร้าน ตักเตือนศิษย์ให้ไม่เลียนแบบพฤติกรรมไม่ดีงานจากบุคคลที่มีชื่อเสียง
และตักเตือนศิษย์มิให้ปฏิบัติตามค่านิยมไม่ดีงามบางอย่าง
6. ครู คือ ดวงประทีปส่องทาง
หมายความว่า
ครูเป็นผู้ให้ความรู้ให้ปัญญาแก่เยาวชน
คนที่มีปัญญาย่อมมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนมีดวงประทีปส่องทางให้กับตนเองตลอดเวลา
ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะดวงประทีปส่องทาง เช่น
ให้ความรู้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ สอนศิษย์ให้รู้จักพิจารณาสิ่งต่างๆ
สอนให้ศิษย์ละเว้นความชั่วทั้งปวง
สอนให้ศิษย์ประพฤติแต่สิ่งดีงาม แนะนำศิษย์ให้สำรวจว่าตนเองมีความสามารถด้านใด
แนะแนวอาชีพที่ตรงกับความถนัดของศิษย์
ให้ความรู้ทันสมัยแก่ศิษย์เพื่อให้ศิษย์เป็นคนทันโลกทันเหตุการณ์
แนะนำแหล่งวิทยาการแก่ศิษย์ และแนะนำสิ่งที่เป็นบุญกุศลแก่ศิษย์
7. ครู คือ ผู้สร้างโลก
หมายความว่า ครูเป็นผู้พัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถเพื่อให้คนเหล่านั้นไปพัฒนาสังคมประชาชาติ
ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะผู้สร้างโลก เช่น
สอนให้ศิษย์เป็นนักคิด สอนให้ศิษย์มีจิตใจที่เข้มแข็ง สอนให้ศิษย์ขยัน
สอนให้ศิษย์สร้างครอบครัวที่มั่นคง สอนให้ศิษย์ใช้ความรู้ความสามารถให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
สอนให้ศิษย์สามัคคี
และสอนให้ศิษย์พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
หมายความว่า
ชาติจะเจริญก้าวหน้าหรือล้มสลายก็เพราะครู ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะผู้กุมความเป็นความตายของชาติไว้ในกำมือ
เช่น ไม่สอนวิชาที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาแก่ศิษย์ ไม่แนะนำสิ่งผิดให้นักเรียน
ไม่ยุยงให้ศิษย์สร้างความแตกร้าวในสังคม
ไม่แสดงความคิดเห็นที่เป็นมิจฉาทัฏฐิให้ศิษย์ในที่สาธารณะ ไม่สอนศิษย์เพียงให้พ้นหน้าที่ประจำวัน
ไม่เป็นผู้ก่อความแตกร้าวทางความคิดให้แก่คนในชาติ
และไม่อาศัยชื่อเสียงหรือบารมีของตนเพื่อสร้างความสับสนให้กับสังคม
9. ครู คือ ปูชนียบุคคล
หมายความว่า
ครูเป็นบุคคลที่มีความน่าเคารพบูชาของศิษย์และบุคคลทั่วไป
ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะปูชนียบุคคล เช่น
ลดละเลิกพฤติกรรมที่เป็นความชั่วทางกายทั้งปวง ฝึกฝนให้ตนมีวจีสุจริต
ฝึกให้ตนมีมโนสุจริต
พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งกายและใจ
และพยายามสั่งสมวิชาความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม
10. ครู คือ
วิศวกรสังคม
หมายความว่า
ครูเป็นนักสร้างให้เป็นไปตามทิศทางที่สังคมต้องการ
เนื่องจากปัจจุบันสังคมยกย่องให้ครูเป็นวิศวกรทางสังคม
เพราะครูทำหน้าที่เสมือนวิศวกรทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์
งานของครูในฐานะเป็นวิศวกรสังคม มีดังนี้ ครูทำงานวิจัย ครูทำงานพัฒนา
ครูทำงานออกแบบ ครูทำงานผลิต ครูทำงานก่อนสร้าง ครูทำงานควบคุมโรงเรียน ครูทำงานทดสอบ
ครูทำงานการขายและการตลาด ครูทำงานบริหาร ครูทำงานที่ปรึกษา และครูทำงานการศึกษาโดยตรง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น